หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ภาพถ่าย F-5E ของกองทัพอากาศไทย จาก COPE TIGER 2012

ภาพถ่ายเครื่องบินขับไล่ F-5E ของกองทัพอากาศไทย จากฝูงบิน 701 และ ฝูงบิน 211 โดยเป็นภาพถ่ายจากการฝึกผสม COPE TIGER 2012 และ COPE TIGER 2011 ที่กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา  

copetiger2012

เครื่องบินขับไล่ F-5E จากฝูงบิน 701 -  Cope tiger 2012

เครื่องบินขับไล่ F-5E จากฝูงบิน 211 - Cope tiger 2012

เครื่องบินขับไล่ F-5E จากฝูงบิน 701 -  Cope tiger 2011


Cope Tiger

การฝึกโคปไทเกอร์เป็นการฝึกการปฏิบัติการทางอากาศเชิงรุก และเชิงรับด้วยกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่าง บ.ต่างแบบ โดยเฉพาะ บ.ที่มีสมรรถนะสูง และการโจมตีทางอากาศ ต่อเป้าหมาย ภาคพื้น ที่มีการต่อต้าน
ประวัติความเป็นมา
ในอดีตกองทัพอากาศได้จัดการฝึกผสม "AIR THAISING" ร่วมกับ กองทัพอากาศสิงคโปร์ ณ กองบิน ๑ เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี ๒๖ โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ กล่าวคือ การฝึกที่บังคับการ (Command Post Exercise - CPX) ทำการฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ ส่วนการฝึก ภาคปฏิบัติการบิน (Air Maneuvering Exercise - AMX) จัดขึ้นในประเทศไทย กองทัพอากาศเป็นเจ้าภาพ ได้ทำการฝึกมาจนถึงปี ๓๗ รวมทั้งหมด ๑๒ ครั้ง ในขณะเดียวกัน กองทัพอากาศ ก็ได้ส่งกำลังเข้าร่วม การฝึกผสมหลายฝ่าย COPE THUNDER ร่วมกับ กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ และ กองทัพอากาศมิตรประเทศอื่น ๆ ณ ฐานทัพอากาศ CLARK ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประจำทุกปี
           ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๔ เกิดสถานการณ์ด้านการเมือง และภัยธรรมชาติในประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้สหรัฐ ฯ ไม่สามารถรักษาฐานทัพอากาศ CLARK ไว้ได้ เป็นเหตุให้การฝึก COPE THUNDER ซึ่งเป็นการฝึก กองกำลังทางอากาศ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นแปซิฟิก ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ สหรัฐ ฯ จึงได้แสวงหาพื้นที่ ในภูมิภาคนี้เพื่อฝึกทดแทน จากการประเมิน พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูง สำหรับการฝึกขนาดใหญ่ กรมยุทธการทหารอากาศซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบ ได้ดำเนินการตามลำดับ เพื่อจัดให้มีการฝึกผสมหลายฝ่าย หรือพหุภาคี (MULTI LATERAL EXERCISE) ขึ้น และ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ ๒๙ มิ.ย.๓๖ เห็นชอบในการฝึกพหุภาคี ระหว่าง ทอ., ทอ.สป. และ ทอ./นย.สหรัฐ ฯ ครั้งแรกในปี ๓๘ โดยใช้รหัสการฝึกว่า "โคปไทเกอร์ ๙๕" (COPE TIGER 95) และเป็นเหตุให้การฝึก AIR THAISING ต้องยกเลิกไปโดยปริยาย การฝึก COPE TIGER ได้ดำเนินการต่อมาจนถึงปัจจุบัน
โดยแบ่งการฝึกออกเป็น ๒ ภาค คือ
๑. ภาคที่บังคับการ (COMMAND POST EXERCISE, CPX) ณ ฐานทัพอากาศปายาเลบาร์ ประเทศสิงคโปร์
๒. ภาคการบิน (FIELD TRAINING EXERCISE, FTX) ณ กองบิน ๑ จ.นครราชสีมา และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรี
วัตถุประสงค์ในการฝึก
๑. เพื่อฝึกการวางแผนของหน่วยอย่างเป็นระบบในการปฏิบัติการทางอากาศ แบบพหุภาคี ตามหลักนิยมการใช้กำลังของ ทอ.
๒. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรที่เข้าร่วมการฝึกในการปฏิบัติการ ทางอากาศผสม ได้แก่ ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นหมู่คณะ
๓. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่าง ทอ. และ ทอ./นย. มิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก
แนวความคิดในการฝึก
๑. การฝึกจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศในทุกกรณี
๒. ฝึกเพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิค เทคโนโลยี และยุทธวิธีการปฏิบัติการทางอากาศเท่านั้น
๓. การปฏิบัติการบินจะวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยมีสถานการณ์สมมติเฉพาะ
ลักษณะการฝึก
จัดตั้งกองอำนวยการฝึก ณ กองบิน ๑ จ.นครราชสีมา มีผู้อำนวยการฝึกร่วมทั้ง ๓ ชาติ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีส่วนวางแผนและควบคุม การฝึก (PCG) ทำหน้าที่ควบคุมและประเมินผลการฝึก มีศูนย์ยุทธการ ทางอากาศผสม (CAOC) ทำหน้าที่ออกคำสั่งปฏิบัติ ภารกิจทางอากาศ (ATO) ให้เป็นไปตามแผนการฝึก และสอดคล้องกับสถานการณ์ ด้านการข่าวสมมุติ โดยมีหน่วยบินเป็นผู้ปฏิบัติตาม ATO ที่ได้รับ
ภารกิจ
๑. การบินรบระหว่าง บ.ต่างแบบ (DACT)
๒. การตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก และเชิงรับ (OCA/DCA)
๓. การขัดขวางทางอากาศ (AI)
๔. การเติม ชพ.ในอากาศ (AAR)
๕. การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (AEW)
๖. การบินค้นหาและช่วยชีวิต (CSAR)
ผู้เข้าร่วมการฝึกและการจัดวางกำลัง
ทอ. - บ.ขับไล่, ฮ. และหน่วยต่อสู้อากาศยาน
ทอ.สป. - บ.ขับไล่, บ.เติม ชพ.ในอากาศ, บ.ควบคุมและแจ้งเตือน และหน่วย ตอ.
ทอ./นย.สหรัฐ ฯ - บ.ขับไล่, บ.เติม ชพ.ในอากาศ,บ.ควบคุมและแจ้งเตือน และ บ.ปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์
โดยหน่วยบิน และอากาศยานที่เข้าร่วมการฝึกทั้งหมดวางกำลัง ณ กองบิน ๑ จ.นครราชสีมา ส่วนหน่วยต่อสู้อากาศยานของ ทอ. และ ทอ.สป.วางกำลัง ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรี

การฝึก Cope Tiger - กรมยุทธการทหารอากาศ

ภาพถ่ายและวิดีโอจาก Puwanai Pasakul



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น